วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับรางวัล ~ Dentiste Reminerale Lable

www.thaiprintawards.com


       Thai Print Awards หรืองานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ถูกจัดขึ้นโดยสมาคมการพิมพ์ไทย โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานพิมพ์ไทย ให้ก้าวไกลสู่สากล อีกทั้งยังเป็นการสานต่อความสำเร็จที่ผ่านมา และเป็นการเปิดโอกาสให้กับโรงพิมพ์รายใหม่ๆ ที่สามารถพิมพ์งานที่มีคุณภาพอีกด้วย โดยการจัดงานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาตินั้น มีแนวคิดสนับสนุนการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์เข้าไปกับคุณภาพและทักษะการพิมพ์อันยอดเยี่ยม เพื่อให้งานพิมพ์ของคนไทยนั้นสามารถสร้างความแตกต่างในตัวของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าสิ่งพิมพ์ของคนไทย ซึ่งการประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาตินั้นถูกจัดขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งหมด 6 ครั้ง (ครั้งที่ 6 ในปี พ.. 2554) ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะแบ่งประเภทของการประกวดแตกต่างกันออกไป โดยในครั้งที่ 4 ประจำปี พ..2552 นั้นได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ รวมทั้งหมด 25 ประเภท โดยผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับเหรียญทองพร้อมโล่เกียรติคุณ ส่วนผู้ที่ชนะเลิศอันดับ 2 และ 3 จะได้รับเหรียญเงินและเหรียญบรอนซ์ตามลำดับ นอกจากนี้ทางสมาคมยังจัดให้มีรางวัลพิเศษที่เรียกว่า Best of The Best Awards อีก 6 รางวัล โดย Dentiste Reminerale Lable นั้น ได้รับรางวัล Gold Award (เหรียญทอง) ประเภท ฉลาก สติกเกอร์  ป้ายบรรจุหีบห่อ (Labels and Tags)
www.tradewinds.com
            สำหรับยาสีฟันเดนทิสเต้ นั้นเป็นยาสีฟันยี่ห้อแรกที่ได้เข้า​มาเซกเมนต์ Night Time หรือการใช้ยาสีฟันในช่วงเวลาก่อ​นนอน โดยมีจุดมุ่งขายในเรื่องการลดแบ​คทีเรียในช่องปากระหว่างการนอนห​ลับ โดย เดนทิสเต้ Repaire' เป็นนวัตกรรมใหม่จากอเมริกาที่ช่วยซ่อมแซมฟันสึกกร่อนผุในระยะเริ่มแรก เพื่อฟันที่ขาวขึ้น ลดอาการเสียวฟันและสุขภาพเหงือกที่ดีขึ้น ด้วยสารพิเศษ Calcium Sodium Phosphosilicate ที่ช่วยเพิ่มขบวนการคืนกลับแร่ธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส เข้าสู่เนื้อฟัน 
            Dentiste Reminerale Lable นั้น ได้รับรางวัลในประเภท ฉลาก สติกเกอร์  ป้ายบรรจุหีบห่อ (Labels and Tags) ซึ่งจัดว่าเป็นสิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่างๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง เป็นต้น


       หลักการในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสินค้านั้น ต้องเน้นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ และต้องสร้างแรงดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค รวมไปถึง รายละเอียด ประโยชน์ ของผลิตภัณฑ์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ การใช้รูป และการใช้สี ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะรูปและสีนั้นสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่สินค้าและผู้บริโภค หลักความสมดุลของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์นี้ เน้นการวางรูปแบบของตัวอักษรที่อ่านง่ายและมีขนาดตัวอักษรที่พอเหมาะ ผู้บริโภคสามารถอ่านรายละเอียดของสินค้าได้ง่าย  ระยะการวางตัวอักษรจากขอบ มีขนาดที่พอดีและจัดเรียงตรงบรรทัด ทำให้เกิดความสมดุลในชิ้นงาน ส่วนการเลือกรูปมาใช้ในการประกอบรายละเอียด สามารถดึงเอาจุดเด่นที่มีของตัวผลิตภัณฑ์ ออกมาได้อย่างชัดเจน และน่าเชื่อถือ อาทิ เช่น รูปภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานของผลิตภัณฑ์นี้ การใช้สีจะใช้สีที่เป็นโทนสีเขียว เพราะ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ เป็นยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เป็นหลัก ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้สีที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การจัดวางองค์ประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ มีการเว้นระยะได้ดีระหว่างรูปภาพและข้อความ ทำให้ผู้บริโภคอ่านแล้วรู้สึกดูไม่รกรุงรังจนเกินไป เพื่อให้ง่ายต่อการรับข้อมูลของผู้บริโภค เพราะถ้าสื่อไม่สามารถสื่อความหมายให้กับผู้อ่านได้อย่างเต็มที่ สื่อนั้นก็จะเป็นสื่อที่สูญเปล่า จังหวะในการออกแบบหรือระยะตำแหน่งขององค์ประกอบเป็นช่วงๆ ทำได้ดีมากเพราะมีการใช้เส้นตรงและการใช้ตัวอักษรที่เป็นแนวตั้งต่อจากตัวอักษรที่เป็นแนวนอนก็สามารถกำหนดทิศทางการอ่านของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว ส่วนในเรื่องจุดสนใจของสื่อจะให้ความสนใจเกี่ยวกับชื่อของผลิตภัณฑ์ ที่มีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่กว่ารายละเอียดทำให้อ่านได้ชัดเจน 
www.thaiprintawards.com
       สื่อสิ่งพิมพ์ ฉลาก สติกเกอร์  ป้ายบรรจุหีบห่อ ผลิตภัณฑ์ Dentiste’  จึงมีความเหมาะสมที่จะได้รับรางวัล ชนะเลิศ การประกวดงาน Thai Print Awards ปี 2009 ( งานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ปี พ..2552 ) เพราะมีการออกแบบที่เรียบง่ายต่อความเข้าใจของผู้บริโภคสินค้า สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน  และมีการดึงจุดเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ออกมาใส่ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์นี้ทำได้อย่างดีเยี่ยม โดยทั้งนำเสนอผ่าน สี และรูปภาพ การใช้ตัวอักษรที่พอเหมาะ ทำให้อ่านง่าย ซึ่งทั้งหมดตรงตามหลักการออกแบบอย่างชัดเจน และตรงตามหลักการของศิลปะที่เรียกว่า Communication Art